ผู้หญิงส่วนใหญ่ไวต่อการเกิดจุดด่างดำหรือเปลี่ยนแปลงของสีผิวที่ผิดปกติไปจากเดิมได้ง่าย จึงเป็นสาเหตุที่สามารถทำให้ผิวพรรณมีจุดบกพร่อง ซึ่งสาเหตตุบางประการได้แก่
- "การผลิตเม็ดสีผิวส่วนเกิน" คือ สภาพที่มีการผลิตเมลานินมากเกินไปหรือไม่สม่ำเสมอ อันอาจมีสาเหตุมาจากการถูกแสงแดด การระคายเคือง การอักเสบของผิว หรือผิวที่มีสุขภาพไม่ดี
- ความเสียหายที่เกิดจากแสงแดดหรือสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นสาเหตุให้ผิวเสียเร็ว เปลี่ยนสี และเกิดริ้วรอย ทำให้ผิวไม่เนียนเรียบ
โครงสร้างของผิวหนัง
ผิวหนังมีส่วนประกอบ 3 ชั้น คือ หนังชั้นใน หนังแท้ และหนังกำพร้า ด้วยความหนาโดยประมาณ 1.25 มิลลิเมตร โดยที่แต่ละชั้นมีความสำคัญต่อสุขภาพผิว ลักษณะภายนอกและสีผิวที่ปรากฏ
- หนังชั้นไน เป็นชั้นที่เป็นเนื้อเยื่อไขมันซึ่งเปรียบเสมือนเบาะหนุนผิวหนังที่อยู่ด้านบน
- หนังแท้ หนังที่อยู่ชั้นกลางประกอบไปด้วยคอลลาเจน ซึ่งเป็นโปรตีนชนิดหนึ่งที่ช่วยในการคืนสภาพของผิว และอิลาสติน คือสารที่ให้ความยืดหยุ่นแก่ผิว นอกจากนั้นหนังแท้ยังประกอบด้วย เส้นโลหิตฝอย เส้นประสาท รากขน ต่อมเหงื่อ และต่อมไขมันด้วย
- หนังกำพร้า คือหนังที่อยู่ชั้นบนสุด มีความหนาเพียง 0.1 มิลลิเมตร ซึ่งมีหน้าที่สำคัญในการผลัดเปลี่ยนเซลล์ใหม่
การผลัดเปลี่ยนเซลล์ผิวใหม่
ผิวหนังมีการหลุดลอกออกตามกระบวนการผลัดเปลี่ยนซลล์ผิวตามธรรมชาติ เซลล์ผิวใหม่จะก่อตัวจากด้านล่างของหนังกำพร้า และค่อยๆ เคลื่อนตัวขึ้นสู่ด้านบนอย่างช้าๆ โดยจะสูญเสียความชุ่มชื่น และแผ่กว้างออก
ในขณะที่เดินทางก่อตัวเป็นเยื่อบางเหมือนกระดาษในช่วงบนสุด เรียกว่า "สตราตัม คอร์เนียม" ชั้นนี้เป็นชั้นที่สามารถบำรุงได้ด้วยผลิตภัณฑ์บำรุงดูแลผิวต่างๆ
ชั้นสตราตัม คอร์เนียม มีความสำคัญเพราะเป็นชั้นที่ช่วยป้องกันการสูญเสียความชุ่มชื้น ตลอดจนปกป้องผิวจากภายนอกและปกป้องเซลล์และอวัยวะภายในร่างกาย
การสร้างสีผิว
การสร้างสีผิวเกิดขึ้นในชั้นหนังกำพร้าเท่านั้น การสร้างสีผิวทั้งหมด หรือส่วนที่บกพร่อง เช่น กระ หรือสีผิวที่ผิดไปจากเดิม เป็นผลเนื่องมาจากสารที่เรียกว่า "เมลานิน" การมีเมลานินปริมาณมากจะมีผลทำให้สีผิวเข้มขึ้น เมลานินก่อตัวขึ้นภายในเซลล์เฉพาะที่อยู่ในชั้นของหนังกำพร้า เรียกว่า "เมลาโนไซท์" ในเผ่าพันธุ์มีโทนสีผิวที่เข้มกว่า เมลาโนไซท์จะทำงานมากกว่า
ดังนั้นจึงผลิตเมลานินได้มากกว่า การก่อตัวของเมลานินในเมลาโนไซท์เกี่ยวกันกับปฏิกิริยาลูกโซ่ที่ซับซ้อน อันเป็นที่รู้จักกันในนามของ "ปฏิกิริยาออกซิเดชั่น" หนึ่งในปฏิกิริยาออกซิเดชั่นที่สำคัญที่สุดในกระบวนการลูกโซ่นี้คือ การเปลี่ยนแปลงของกฏอะมิโนที่เรียกว่า "ไทโรซีน" ไปเป็น "โดปะ"
หากปราศจากขั้นตอนสำคัญนี้แล้ว เมลานินจะก่อตัวได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น แต่ปฏิกิริยานี้จะเกิดขึ้นได้ต้องมีเอ็นไซม์ที่เรียนกว่า "ไทโรซีเนส" อยู่ด้วย เพราะฉะนั้นเคล็ดลับสู่ผิวขาวนวลสดใสขึ้น คือการทำงานของไทโรซีเนสนั่นเอง
**ปฏิกิริยาออกซิเดชั่น หมายถึง การรวมตัวของสารบางชนิดกับออกซิเจน
ผิวหนังและสภาพแวดล้อม
คนเราทุกคนมีความสามารถในการตอบรับผริมาณแสงแดดได้ในระดับหนึ่ง ซึ่งจะไปกระตุ้นการสร้างวิตามินดีที่ีความสำคัญในการให้ความอบอุ่นแก่เรา แลให้ประโยชน์อื่นๆอีกมากมาย แต่ถ้าได้รับแสงแดดในปริมาณมากเกินไปอาจทำอันตรายแก่ผิวได้
เมื่อรังสีอุลตร้าไวโอเล็ทส่องมากระทบผิวหนัง เมลาโนไซท์ในหนังกำพร้าจะถูกกระตุ้นให้ผลิตเมลานินมากขึ้น เมลานินที่มากขึ้นจะทำให้ผิวเข้มขึ้น กระเป็นส่วนหนึ่งของผลผลิตของการกระตุ้นของการสร้างเมลานินในปริมาณที่มากเกินไป แสงแดด กิจกรรมกลางแสงแดด และระยะเวลาที่ถูกแสงแดดก็มีผลกระทบโดยตรงต่อผิว ซึ่งเราควรปกป้องผิวจากรังสีที่มีอยู่ในแสงแดด ทั้งรังสียูวีเอ และยูวีบี
รังสียูวีเอ และยูวีบี คือ อะไร
แสงอาทิตย์ที่สาดส่งมายังพื้นผิวโลกมีคลื่นแสงบางชนิดที่เป็นอันตรายต่อผิวที่เรารู้จักหรือได้ยินกันบ่อยๆ นั่นคือ รังสีอุลตร้าไวโอเล็ท
จากภาพจะสังเกตได้ว่า แสงอุลตร้าไวโอเล็ทอยู่ในคลื่นแสง 3 ระยะคือ เอ บี และซี แสงส่วนมากที่ส่งอมาถึงพื้นโลกเป็นยูวีเออันเป็นระยะคลื่นแสงซึ่งทำให้ผิวเป็นสีน้ำตาลเวลาอาบแดด
การถูกรังสียูวีเอเป็นเวลานานติดต่อกันจะเป็นอันตรายต่อผิวและมีส่วนทำให้ผิวแก่ก่อนวัยและเป็นมะเร็งผิวหนังได้ ในแสงแดดจะมีรังสียูวีบีในปริมาณที่น้อยกว่าซึ่งทำให้ผิวไหม้เกรียมได้
รังสีชนิดที่สาม ยูวีซี สามารถทำอันตรายผิวได้เช่นกัน แต่ถูกดูดซับโดยโอโซนในบรรยากาศชั้นแอทโมสเฟียร์ซึ่งอยู่ชั้นบนสุดของโลก รังสีอุลตร้าไวโอเล็ททั้งหมดจะให้สัญญาณต่อเมลาโนไซท์ ซึ่งเซลล์ผลิตเมลานินในผิวให้เร่งการผลิตให้มากขึ้นเพื่อเป็นการป้องกันตามธรรมชาติของร่างกาย ในขณะที่ผิวมีสีเข้มขึ้นจากการเพิ่มขึ้นของเมลานิน จะส่งผลช่วยปกป้องผิวจากการได้รับแสงแดดมากเกินไป
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
คลิ๊กแอดไลน์เพิ่มเพื่อนเลยค่ะ